วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ปลิงทะเล




ปลิงทะเลกินอาหารพวก ตะกอนสารอินทรีย์เล็ก ๆ แบคทีเรียและสาหร่ายเล็กๆ (แตกต่างกันในแต่ละชนิด) ซึ่งมีมากบนพื้นท้องทะเล มีการคำนวณปริมาณการกินอาหารของปลิงทะเลบางชนิดมากถึง 130 กิโลกรัมต่อปี !!!! ปลิงทะเลยื่น tentacle เพื่อเก็บอาหารและลำเลียงสู่ปาก บางชนิดมีเมือกที่ tentacle เพื่อดักจับอาหารที่เป็นตะกอนแขวนลอย บางชนิดไม่มีเท้าเดิน (tube feet) ไว้สำหรับยึดเกาะ เช่น Euapta lappa
ปากของปลิงจะใช้กินอาหารอยู่ตลอดเวลา ปลิงทะเลจะหายใจทางช่องเปิดด้านหลัง โดยปลิงจะดูดน้ำเข้าและถูกดึงเข้าไปที่ respiratory tree และน้ำจะถูกขับออกโดยใช้กล้ามเนื้อช่วย (สรุปก็คือหายใจทางก้น..อ้ะๆๆไม่ต้องลอง คนทำไม่ได้หรอก)
ในธรรมชาติศัตรูของมันก็คือปูและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ หากถูกรบกวนกลไกในการป้องกันตัวของปลิงทะเลก็คือใยสีขาวที่พ่นออกมา บางท่านอาจเคยไปจับตัวมันแล้วก็ถูกเส้นใยสีขาว ๆ พ่นใส่ ซึ่งเส้นใยเหล่านี้จะติดหนับแกะออกยากมาก
สำหรับการศึกษาการสืบพันธุ์ของปลิงทะเลในเมืองไทยยังไม่มีรายงานการศึกษาฉะนั้นต้องอาศัยรายงานของต่างประเทศไปก่อนนะครับ ปลิงทะเลสืบพันธุ์โดยการปล่อยเสปิร์มและไข่สู่มวลน้ำ ผสมกันได้ตัวอ่อนและตัวอ่อนจะดำรงชีวิตเป็น plankton อยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่งก่อนที่จะลงสู่พื้น สำหรับฤดูกาลการสืบพันธุ์ของปลิงทะเลจะผันแปรตามฤดูกาลโดยในเขต temperate มีแนวโน้มที่สืบพันธ์ในช่วงฤดูร้อน จากผลการศึกษาของ Chao และคณะ 1995 ศึกษาวงจรการสืบพันธุ์ของปลิงทะเลที่เกาะไต้หวัน พบว่าปลิงทะเลที่มีรูปแบบการกินอาหารทั้งสองชนิด (กินตะกอนแขวนลอย (suspension) feeder และ กินพวกเศษซาก (deposite feeder)) มีการปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ในช่วงฤดูร้อน เช่นเดียวกับพวกสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังส่วนใหญ่ สำหรับในประเทศไทยอาจจะไม่มีฤดูกาลสืบพันธุ์ที่ชัดเจนต้องอาศัยการศึกษาต่อไปครับ
มาดูเรื่องประโยชน์ของปลิงทะเลกันดีกว่าครับ ปลิงทะเลมีบทบาทที่สำคัญในระบบนิเวศคือเป็นตัวย่อยสลายพวกสารอินทรีย์ในตะกอนและปล่อยสารอาหารคืนสู่ห่วงโซ่อาหาร ประโยชน์ที่มีการพูดถึงกันมากที่สุดคือมีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ส่วนมากปลิงทะเลนิยมนำไปปรุงเป็นอาหารจีน โดยต้องผ่านกระบวนการที่ซับซ้อน
มีงานวิจัยอยู่ชิ้นหนึ่งโดยสมชัย บุศราวิท และนลินี ทองแถม 2542 (สถาบันวิจัยชีววิทยาและประมงทะเลจังหวัดภูเก็ต) มีรายงานดังนี้

ปลิงทะเลสามารถพบได้ทั่งสองฝั่งทะเลของประเทศไทย โดยถูกนำขึ้นมาเป็นสินค้าโดยทำแห้งส่งต่อไปยังประเทศใกล้เคียงเช่น มาเลเซีย โดยนำไปป่นแห้งเป็นผลบรรจุแคปซูลเพื่อเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ การวิวัฒนาการเป็นอาหารและยาเริ่มจากประเทศจีน เมื่อ 5000 ปีก่อนครับ ในปลิงทะเลจะประกอบด้วย vitamin a และ c, thiamine, riboflavin, niacin, calcium, iron, mangnesium และ zinc นอกจากนั้นก็มีโปรตีนและไขมันเล็กน้อย ส่วนที่นำไปประกอบอาหารจะเป็นส่วนที่เป็นผนังลำตัว จากการรวบรวมข้อมูลการศึกษาจำนวนชนิดในเมืองไทยพบว่ามีปลิงทะเลอยู่ 76 ชนิด Sangjindawong, 1980 รายงานถึงปลิงทะเลที่นิยมกินมีอยู่หกชนิดครับ คือ Holothuria scabra, H. argus, H.marmorata, H. arta, H. spinifera และ Stichopus variegatus อย่างไรก็ตามยังมีชนิดอื่น ๆ อีกที่ถูกเก็บขึ้นมาอีกมากครับเพราะทุกวันนี้เหลือน้อยลงทุกวัน การทำการประมงปลิงทะเลเริ่มกันมาเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมานี้เอง โดยใช้มือเปล่าจับเวลาน้ำทะเลลง ต่อมาก็มีการพัฒนาโดยใช้อุปกรณ์หน้ากากดำน้ำลงไปเก็บในที่น้ำลึก การเก็บจะขึ้นอยู่กับช่วงเวลาบางชนิดเก็บได้ตลอดทั้งวันแต่บางชนิดเก็บได้เฉพาะเวลากลางคืนเท่านั้น วิธีการแปรรูปก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละสถานที่
สำหรับราคาที่จำหน่ายอยู่ในช่วง 90 ถึง 270 บาทต่อหนึ่งกิโลกรัม แตกต่างกันไปในแต่ละชนิด ถ้าขายสดจะตกอยู่กิโลกรัมละ 3 ถึง 35 บาท แตกต่างกันไปตามชนิดของปลิงทะเล อย่างไรก็ตามราคาจะแตกต่างกันไปในแต่ละสถานที่และความต้องการของตลาด ขอยกตัวอย่างราคาแค่นี้พอนะครับเดี๋ยวมีคนรู้มากจะพากันไปเก็บหมดทะเลกันพอดี
การทำการประมงปลิงทะเลนอกจากทำลายปลิงทะลโดยตรงแล้วยังส่งผลถึงความเสื่อมโทรมแนวปะการังด้วย โดยเฉพาะการเก็บปลิงทะเลในช่วงเวลาน้ำทะเลลง มีการเหยียบย่ำ ขุดคุ้ยแนวปะการังเกิดขึ้น มีแนวโน้มว่าการทะการประมงปลิงทะเลจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ ซึ่งเป็นสัญญานอันตรายต่อระบบนิเวศทางทะเลโดยตรง
ผู้วิจัย (สมชัย บุศราวิท และนลินี ทองแถม 2542) ได้ให้ข้อเสนอแนะในการอนุรักษ์ปลิงทะเลในเมืองไทยดังต่อไปนี้
1. ควรจะมีการทำการวิจัยถึงความหลากหลายและการแพร่กระจายในแต่ละระบบนิเวศ เช่น ระบบนิเวศหญ้าทะเล ระบบนิเวศปะการัง ตลอดแนวชายฝั่งของประเทศไทย2. ควรศึกษาชีววิทยาของปลิงทะเลชนิดที่ตลาดต้องการ รวมทั้งการสืบพันธุ์ การเติบโต การทดแทนที่ของประชากร เพื่อผลประโยชน์ในการจัดการทรัพยากรที่ยั่งยืน3. ควรจะมีการกำหนดขนาดของปลิงทะเลในการทำการประมง4. ควรมีการฝึกอบรมชาวประมง5. ไม่ควรให้มีการเก็บปลิงทะเลในเขตอุทยานและเขตอนุรักษ์6. ควรมีการติดตามผลเก็บข้อมูลทางสถิติในการส่งออก

ปลิงทะเล


นี่คือคำอุทานของท่านสุภาพสตรี เมื่อพูดถึงเรื่อง ปลิง แต่ในที่นี้เป็นปลิงทะเล ซึ่งเป็นคนละพวกกับปลิงน้ำจืด หน้าตาก็น่าเอ็นดูกว่าเป็นไหนๆ ไม่เชื่อลองดูรูปสิ
เมื่อเราลงไปเดินหรือดำน้ำในแนวปะการังหรือในแนวหญ้าทะเล เราจะพบเจ้าสิ่งหนึ่งที่มีร่างกายเป็นทรงกระบอกกระจายอยู่ทั่วไป บางชนิดฝังตัวอยู่ตามพื้นทรายพื้นโคลน บ้างก็มีผิวเรียบบ้างก็มีผิวตะปุ่มตะป่ำ จากรูปร่างของมันบางท่านไม่กล้าที่จะแตะต้องมันโดยเฉพาะคุณผู้หญิง!!! (แต่บางคนพออยู่ในถ้วยอาหารกินเอ๊ากินเอา...แซบหลายเด้อ..สิบอกไห่)
ปลิงทะเลและในภาษาอังกฤษเรียกว่า "sea cucumber" (แปลเป็นไทยว่าแตงกวาทะเล!!!....แต่ยังไม่ทราบว่ามีหน่อไม้ทะเล...แตงโมทะเล...มะละกอทะเลหรือไม่ อิอิ..) อยู่ใน ใน Phylum Echinodermata และ Class Holothuroidea ซึ่งประกอบไปด้วยสัตว์มากกว่า 1000 ชนิด ซึ่งรวมทั้งเม่นทะเลและดาวทะเล ลักษณะหนึ่งของ Phylum นี้คือมีร่างกายสมมาตร (ไม่ใช่แปลว่ารูปร่างเหมือนสนธิ สมมาตร นักร้องลูกทุ่งนะ)
ปลิงทะเลมีวิวัฒนาการร่างกายมีผนังหนานุ่ม เป็นทรงกระบอกเพื่อความสะดวกในการเคลื่อนที่และการดำรงชีวิตอื่น ๆ มีช่องเปิดทางด้านหน้าและด้านหลัง ทางด้านหน้าบางชนิดมี tentacle ยื่นออกมา และทางด้านหลังเป็นช่องขับถ่าย ผิวของปลิงจะเป็นผลึกหินปูนเล็ก ๆ ประกอบกันอยู่มากมาย ซึ่งผลึกหินปูนเหล่านี้ใช้ในการจำแนกชนิด (species) บางชนิดมีมากถึง 80 % ของน้ำหนักแห้งของร่างกาย ขนาดความยาวของลำตัวบางชนิดยาวถึงหนึ่งเมตร สีสันก็จะแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิด ปลิงทะเลมีเท้าเดิน (tube feet) อยู่บนผิวหนังซึ่งใช้ในการเดินและยึดเกาะกับพื้น